Home Listening reading Writing Grammar สมุดจดศัพท์ออนไลน์ เกมส์ท่องศัพท์ About me
ห้องสอบเสมือนจริง ห้องติวคณิตศาสตร์ ข้อสอบ O-NET Online

คู่มือการใช้สมุดจดศัพท์ออนไลน์
ยังไม่เข้าระบบ (not login)
สารบัญ
หน้า 1 แนวคิด (concept), ลงทะเบียน, login เข้าสมุดจดศัพท์
หน้า 2 เพิ่มศัพท์ลงในสมุดจดศัพท์
หน้า 3 ตรวจความถูกต้องของตัวสะกดศัพท์
แก้ศัพท์ในสมุดจดศัพท์ออนไลน์
หน้า 4 เลือกศัพท์ในสมุดจดศัพท์ออนไลน์เพื่อเล่นเกม
หน้า 5 เลือกศัพท์ในสมุดจดศัพท์ออนไลน์เพื่อเล่นเกม(ต่อ)
หน้า 6 เลือกศัพท์ในสมุดจดศัพท์ออนไลน์เพื่อเล่นเกม(ต่อ)
หน้า 7 การใส่ตัวอักษรจีนลงในสมุดจดศัพท์ออนไลน์
หน้า 8 ประยุกต์ใช้สมุดจดศัพท์ออนไลน์กับการเรียนวิชาต่าง ๆ
ประยุกต์สมุดจดศัพท์ออนไลน์ใช้กับการจำคำราชาศัพท์


วิดีโอคู่มือสมุดจดศัพท์ออนไลน์

๏ปฟ ๏ปฟ
จำนวนผู้ชม 17,198 จำนวนผู้ลงคะแนน 3 คะแนนเฉลี่ย 5

หน้าที่ผ่านมา คู่มือการใช้สมุดจดศัพท์ออนไลน์ หน้า 2 หน้าถัดไป


เพิ่มคำศัพท์ลงในสมุดจดศัพท์

เพิ่มศัพท์ได้ครั้งละ 5 คำ ศัพท์แต่ละคำต้องมี "คำศัพท์" และ "คำแปล" ส่วน "เพิ่มเติม" ไม่บังคับ จะมีหรือไม่มีก็ได้

คำศัพท์ และ คำแปล เป็นภาษาใดก็ได้ มีความยาว 30 ตัวอักษร ส่วน เพิ่มเติม มีความยาว 50 ตัวอักษร ใช้สำหรับบันทึกข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับศัพท์คำนั้น เช่น คำอ่าน ที่มาของศัพท์ ตัวอย่างประโยคแสดงการใช้ศัพท์ ฯลฯ

การใส่คำแปลของศัพท์ควรใส่ข้อความสั้น กระชับ


ตัวอย่าง "คำศัพท์" เป็นภาษาอังกฤษ "คำแปล" เป็นภาษาไทย เก็บคำอ่านไว้ที่ "เพิ่มเติม"

ตัวอย่าง "คำศัพท์" เป็นจีน "คำแปล" เป็นภาษาไทย

ตัวอย่าง "คำศัพท์" เป็นเกาหลี "คำแปล" เป็นภาษาอังกฤษ

ขอให้ระมัดระวังการพิมพ์ตัวสะกดของคำศัพท์เป็นพิเศษ เพราะศัพท์ที่บันทึกไว้ในสมุดจดศัพท์ออนไลน์ ถูกนำมาทบทวนจนจำได้ ถ้าพิมพ์ตัวสะกดผิด ทำให้จำศัพท์ที่สะกดผิดไปใช้

ศัพท์ทุกคำที่ถูกป้อนเข้าสมุดจดศัพท์ออนไลน์มีหมายเลขกำกับเพื่อบอกให้รู้ว่าเป็นศัพท์คำที่เท่าใด หมายเลขนี้ถูกระบบสร้างให้โดยอัตโนมัติเพื่อให้เป็นหมายเลขประจำตัวของศัพท์แต่ละคำ (unique ID) นอกจากนี้ระบบยังเก็บวันที่ที่ศัพท์แต่ละคำถูกป้อนเข้าสมุดจดศัพท์ไว้ด้วย

หมายเลขประจำตัวของศัพท์ และวันที่ที่ศัพท์ถูกป้อนเข้าสมุดจดศัพท์ มีประโยชน์ในการเรียกศัพท์ขึ้นมาตรวจความถูกต้องของตัวสะกด และใช้ในการเลือกศัพท์เพื่อเล่นเกม ซึ่งจะกล่าวในหัวข้อถัดไป

ก่อนนำศัพท์ไปเล่นเกมควรตรวจตัวสะกดของศัพท์ในสมุดจดศัพท์ออนไลน์ก่อน ถ้าเป็นไปได้คนที่ป้อนศัพท์ลงสมุดจดศัพท์ และคนที่ตรวจตัวสะกดของศัพท์ในสมุดจดศัพท์ ไม่ควรเป็นคนเดียวกัน เพราะธรรมชาติของคนจะเข้าข้างตัวเอง ถ้าป้อนคำศัพท์ลงสมุดจดศัพท์เอง และตรวจเอง มักตรวจไม่พบตัวสะกดที่สะกดผิดเพราะเชื่อว่าตัวเองป้อนถูกแล้ว

ขอแนะนำให้นักเรียนเป็นผู้ป้อนคำศัพท์เข้าสมุดจดศัพท์ออนไลน์ แล้วผู้ปกครองเป็นคนตรวจและแก้ไขความถูกต้องก่อนที่นักเรียนจะเริ่มเล่นเกม


หน้าที่ผ่านมา คู่มือการใช้สมุดจดศัพท์ออนไลน์ หน้า 2 หน้าถัดไป

จำนวนผู้ชม 17,198 จำนวนผู้ลงคะแนน 3 คะแนนเฉลี่ย 5


ผังเครือญาติ

การนำญาติทุกคนมาอยู่กันพร้อมหน้าเพื่อทำความรู้จักกันเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ ถ้าเริ่มนับจากรุ่นทวดลงมาถึงรุ่นเหลน จำนวนสมาชิกอาจมีมากกว่า 50 คน สมาชิกในรุ่นหลานเหลนมักไม่รู้จักกันเพราะบุคคลอาวุโสที่เป็นตัวเชื่อมเสียชีวิตไปแล้ว
ถ้าทุกครอบครัวเขียนผังครอบครัวของตัวเองแล้วนำมาต่อกันเหมือนต่อจี๊กซอว์ จะได้ผังเครือญาติขนาดใหญ่ที่มีสมาชิกครบทุกคน ญาติทุกคนสามารถทำความรู้จักกันด้วยข้อมูลในผังเครือญาติที่บอกชัดเจนว่าใครเป็นลูกหลานใคร แนวคิดนี้เป็นจริงได้ไม่ยากเพราะปัจจุบันมีอินเตอร์เน็ตที่ทุกคนใช้ในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว แค่เรียนรู้เครื่องมือสร้างผังครอบครัวและเชื่อผังครอบครัวเข้าด้วยกัน
...คลิกที่นี่เพื่อดูรายละเอียด...
๏ปฟ

เธชเธ‡เธงเธ™เธฅเธดเธ‚เธชเธดเธ—เธ˜เธดเนŒเธ•เธฒเธกเธเธเธซเธกเธฒเธข Copyright (C) 2018-2024 All rights reserved.