ห้องสอบเสมือนจริง
หน้าแรก ฝึกสมอง สมุดจดศัพท์ออนไลน์ ห้องสอบเข้าม.1 ห้องสอบเข้าม.4 ห้องสอบเข้ามหาวิทยาลัยผู้ทำเว็บ
เกมแมวกินปลา
จำนวนข้อถูก :

จำนวนข้อผิด :


มีเสียงประกอบในเกม
คลิกที่นี่เพื่อดูคำอธิบาย

เลื่อนลงไปข้างล่าง
เพื่อกำหนดความยากของโจทย์

÷

=

คลิกที่ "ลูกศร" เพื่อเปลี่ยนทิศ
การป้อนตัวเลขคำตอบ

การป้อนตัวเลขคำตอบทำได้ 2 วิธี
วิธีที่ 1) ป้อนตรงลงในช่องสีเหลืองโดยใช้แป้นพิมพ์
วิธีที่ 2) ใช้เมาส์คลิกปุ่มตัวเลขบนจอ

วิธีที่ 1) เป็นการป้อนตัวเลขจากซ้ายไปขวา สามารถใส่ '.' (เลขทศนิยม) และ '-' (จำนวนที่น้อยกว่า 0)
อย่าใส่ , (จุลภาค/comma) ในคำตอบ
วิธีที่ 2) สามารถกำหนดทิศของการป้อนตัวเลขได้ว่า "จากขวาไปซ้าย " หรือ "จากซ้ายไปขวา"

ให้สังเกตหัวลูกศรซึ่งบอกทิศของการป้อนตัวเลขคำตอบ
ลูกศรชี้ไปทางซ้าย หมายถึงตัวเลขคำตอบถูกป้อนจากขวาไปซ้าย
ลูกศรชี้ไปทางขวา หมายถึงตัวเลขคำตอบถูกป้อนจากซ้ายไปขวา
สามารถเปลี่ยนทิศโดย "คลิกที่ลูกศร" เพื่อเปลี่ยนเป็นทิศตรงข้าม

การลบตัวเลขที่ป้อนผิดให้ใช้เมาส์คลิกปุ่ม Delete เพื่อลบตัวเลขตัวสุดท้าย ซึ่งสอดคล้องกับทิศของการป้อนตัวเลข

ปุ่ม Enter มีผลเหมือนปุ่ม ตรวจคำตอบ

เสียงประกอบในเกม
เนื่องจาก browser บางตัวไม่รองรับเสียงประกอบในเกม ตัวเกมจึงตั้งค่า default เป็น "ไม่มีเสียงประกอบในเกม" เพื่อให้ browser ทุกตัวสามารถเล่นเกมนี้ได้ หากท่านต้องการให้มีเสียงประกอบในเกมให้คลิกเมาส์ที่ช่องสี่เหลี่ยมที่อยู่หน้าข้อความ "มีเสียงประกอบในเกม" เพื่อให้มีเครื่องหมายถูกในช่องสี่เหลี่ยม จากนั้นให้สังเกตว่ามีเสียงประกอบเมื่อตอบถูก หรือตอบผิดหรือไม่ ถ้าไม่มีเสียงและโจทย์เลขค้าง ไม่สามารถทำโจทย์ข้อถัดไป แสดงว่า browser ที่ท่านใช้ไม่รองรับเสียงประกอบในเกม ให้คลิกเมาส์ที่ช่องสี่เหลี่ยมอีกครั้งเพื่อให้เครื่องหมายถูกหายไป หมายถึงไม่ต้องมีเสียงประกอบในเกม
ขอบคุณ www.freesfx.co.uk สำหรับเสียงประกอบในเกม

กำหนดระดับความยากของโจทย์

สามารถกำหนดระดับความยากง่ายของโจทย์ โดยกำหนดคุณสมบัติต่าง ๆ ตามรายละเอียดที่อยู่ในแถบสีฟ้าข้างล่างนี้
แล้วเลื่อนขึ้นไปคลิกปุ่ม "เริ่มเล่นเกม" เพื่อนำคุณสมบัติที่กำหนดไปใช้



ตัวตั้ง อยู่ในช่วง ถึง
เลขลบ ทศนิยม 1 ตำแหน่ง ทศนิยม 2 ตำแหน่ง

ตัวหารอยู่ในช่วง ถึง
เลขลบ ทศนิยม 1 ตำแหน่ง ทศนิยม 2 ตำแหน่ง

คำตอบ
ทศนิยม 1 ตำแหน่ง ทศนิยม 2 ตำแหน่ง

กำหนดระดับความยากง่ายของโจทย์ โดยระบุรายละเอียดต่าง ๆ ดังนี้
1. กำหนดช่วงของ "ตัวตั้ง" และ "ตัวหาร"
ค่าเริ่มต้น (default) กำหนดให้ "ตัวตั้ง" อยู่ในช่วง 0 - 99 และ "ตัวหาร" อยู่ในช่วง 1 - 9 ให้สังเกตว่าตัวตั้งเป็น 0 ได้ แต่ตัวหารเป็น 0 ไม่ได้ถ้าตัวตั้งเป็น 0 ไม่ว่าตัวหารจะเป็นเลขได้ จะได้ผลหารเป็น 0 เสมอ แต่ถ้าตัวหารเป็น 0 ไม่ว่าตัวตั้งจะเป็นเลขใดจะไม่มีคำตอบ เพราะในทางคณิตศาสตร์ถ้าตัวหารเป็น 0 จะคำนวณผลหารไม่ได้
2. อนุญาตให้ "ตัวตั้ง" และ "ตัวหาร" เป็นค่าติดลบได้หรือไม่
ถ้าติ๊กช่อง "เลขลบ" หมายถึงอนุญาตให้เป็นเลขลบได้ จะมีโอกาสได้ทั้งเลขบวก และเลขลบ แต่ถ้าไม่ติ๊กช่อง "เลขลบ" จะได้แต่เลขบวก การที่อนุญาตให้ "ตัวตั้ง" และ "ตัวหาร" เป็นเลขติดลบได้ มีประโยชน์ในการฝึกความเข้าใจในการคูณเลขจำนวนจริง (เลขบวกและเลขลบ) สำหรับนักเรียนที่ยังไม่ได้เรียนเลขติดลบ จะสับสนเมื่อนำเลขลบมาคำนวณ ค่าเริ่มต้น (default) จึงไม่ติ๊กช่อง "เลขลบ"
3. ระบุทศนิยมของ "ตัวตั้ง" และ "ตัวหาร"
ถ้าไม่ติ๊กช่อง "ทศนิยม" หมายถึงไม่อนุญาตให้เป็นเลขทศนิยม "ตัวตั้ง" และ "ตัวหาร" จะเป็นเลขจำนวนเต็มเสมอ ถ้าอนุญาตให้เป็นเลขทศนิยมได้ ให้ระบุว่าอนุญาตให้มีทศนิยมได้สูงสุดกี่ตำแหน่ง ถ้าระบุ "ทศนิยม 2 ตำแหน่ง" หมายถึงมีทศนิยมได้สูงสุดไม่เกิน 2 ตำแหน่ง เลขสุ่มที่ได้อาจเป็นเลขทศนิยม 2 ตำแหน่ง เลขทศนิยม 1 ตำแหน่ง หรือเลขจำนวนเต็ม
4. ระบุทศนิยมของ "คำตอบ"
ถ้าติ๊กทศนิยม 1 ตำแหน่ง หมายถึงปัดทศนิยมของคำตอบให้เป็น 1 ตำแหน่ง (กรณีที่หารไม่ลงตัว)
ถ้าติ๊กทศนิยม 2 ตำแหน่ง หมายถึงปัดทศนิยมของคำตอบให้เป็น 2 ตำแหน่ง (กรณีที่หารไม่ลงตัว)
ถ้าไม่ติ๊ก โปรแกรมจะสร้างเฉพาะโจทย์ที่หารลงตัว (คำตอบไม่มีทศนิยม)


ตัวอย่างที่ 1 การกำหนดระดับความยากง่ายของโจทย์

กำหนดให้สร้างโจทย์เลขที่มี "ตัวตั้ง" อยู่ในช่วง 2 - 99 และ "ตัวหาร" อยู่ในช่วง 2-9
อนุญาตให้ "ตัวตั้ง" และ "ตัวหาร" เป็นเลขลบได้
ให้สร้างเฉพาะโจทย์เลขที่หารลงตัว
ตัวอย่างโจทย์ที่สร้างตามข้อกำหนดนี้
27 ÷ 3
-56 ÷ 8
24 ÷ -6
-63 ÷ -9

ตัวอย่างที่ 2 การกำหนดระดับความยากง่ายของโจทย์

กำหนดให้สร้างโจทย์เลขที่มี "ตัวตั้ง" อยู่ในช่วง 12 - 999 และ "ตัวหาร" อยู่ในช่วง 2 - 9
ทั้ง "ตัวตั้ง" และ "ตัวหาร" เป็นจำนวนเต็ม ไม่อนุญาตให้เป็นเลขลบ
โจทย์ที่สร้างมีทั้งหารลงตัวและหารไม่ลงตัว กรณีที่หารไม่ลงตัวให้ปัดทศนิยมของคำตอบเป็นทศนิยม 1 ตำแหน่ง
ตัวอย่างโจทย์ที่สร้างตามข้อกำหนดนี้
15 ÷ 7
456 ÷ 6


ตัวอย่างที่ 3 การกำหนดระดับความยากง่ายของโจทย์

กำหนดให้สร้างโจทย์เลขที่มี "ตัวตั้ง" และ "ตัวหาร" อยู่ในช่วง 2 - 9
อนุญาตให้ "ตัวตั้ง" และ "ตัวหาร" เป็นเลขติดลบได้
"ตัวตั้ง" มีทศนิยมได้ไม่เกิน 2 ตำแหน่ง และ "ตัวหาร" มีทศนิยมได้ไม่เกิน 1 ตำแหน่ง
โจทย์เลขอาจจะหารลงตัวหรือหารไม่ลงตัวก็ได้ กรณีหารไม่ลงตัวให้ปัดทศนิยมของคำตอบเป็น 1 ตำแหน่ง
ตัวอย่างโจทย์ที่สร้างตามข้อกำหนดนี้
-1.34 ÷ -2
2.15 ÷ 1.4
-4.8 ÷ 3.7
3 ÷ -4.5



Maths Games

เกมคณิตศาสตร์

การคำนวณที่สลับซับซ้อนมีพื้นฐานมาจากการคำนวณทางคณิตศาสตร์เพียง 4 อย่างคือ บวก ลบ คูณ และ หาร การฝึกทักษะการคำนวณจึงเริ่มจากการฝึกบวก ลบ คูณ หาร เพื่อกระตุ้นให้สมองเพิ่มเส้นใยสมองด้านคำนวณเพื่อรองรับการคำนวณที่ซับซ้อนมากขึ้นเมื่อเรียนในระดับที่สูงขึ้น

ขอบคุณเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์และอินเตอร์ที่ทำให้นักเรียนมีเครื่องมือสำหรับฝึกทักษะการคำนวณมากขึ้น เกมส์คอมพิวเตอร์ถูกสร้างขึ้นเพื่อสร้างโจทย์คณิตศาสตร์ให้นักเรียนฝึกบวก ลบ คูณ และหาร เกมส์เหล่านี้สามารถเล่นบนอุปกรณ์ใดก็ได้ที่สามารถเข้าอินเตอร์เน็ต
... รายละเอียดเพิ่มเติม ...


  
จำนวนผู้ชม 6,393 จำนวนผู้ลงคะแนน 4 คะแนนเฉลี่ย 5


สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย Copyright (C) 2011-2024 All rights reserved.