ห้องสอบเสมือนจริง
ห้องสอบเสมือนจริง ข้อสอบเข้าม.1 ข้อสอบเข้าม.4 ข้อสอบ O-NET ข้อสอบสสวท. ข้อสอบเพชรยอดมงกุฏ
สรุปเนื้อหาและแบบฝึกหัดคณิตศาสตร์ ฝึกสมอง สมุดจดศัพท์ออนไลน์ เกมส์ท่องศัทพ์ English Voice ผู้ทำเว็บ
คู่มือการใช้ห้องสอบเสมือนจริง

วิดีโอคู่มือการใช้ห้องสอบเสมือนจริง
"ห้องสอบเสมือนจริง" คือ Software ที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้นักเรียนได้ฝึกทำข้อสอบในสภาพที่เหมือนนั่งทำข้อสอบในห้องสอบจริง ซึ่งต้องทำให้เสร็จภายในเวลาที่กำหนด การใช้ห้องสอบเสมือนจริงต้องอนุญาตให้ Browser เขียน/อ่าน Cookie และ Run scripts เมื่อเรียกใช้ห้องสอบเสมือนจริง Browser จะแจ้งให้ทราบว่าจะมีการ Run scripts และถามความสมัครใจของผู้ใช้งานว่าจะอนุญาตให้ Run หรือไม่ ? ถ้าต้องการเข้าห้องสอบเสมือนจริงต้องอนุญาตให้ Run scripts ตามภาพข้างล่างนี้

การเห็นโจทย์เลขทั้งข้อในหน้าเดียวโดยไม่ต้องเลื่อนขึ้นลงทำให้มีสมาธิในการทำข้อสอบมากขึ้น จึงขอแนะนำให้เลือกการแสดงผลแบบเต็มจอ โดยกดแป้น F11 หรือเลือก Full Screen ใน Option ของ View ขณะแสดงผลเต็มจอจะไม่เห็นเมนูของ Browser ถ้าต้องการเห็นเมนูของ Browse ใหกดแป้น F11 อีกครั้งเพื่อยกเลิกการแสดงผลแบบเต็มจอ
ก่อนเข้าห้องสอบมีคำแนะนำสิ่งที่ควรปฏิบัติ ขอให้ทำตัวเหมือนเข้าห้องสอบจริงซึ่งนักเรียนทุกคนรู้อยู่แล้วว่าห้ามทำอะไรบ้าง เช่นห้ามใช้เครื่องคิดเลข ห้ามเปิดหนังสือ หรือสมุดโน้ตที่จดสูตรต่างๆ ไว้ ถ้ารู้ตัวว่ายังไม่พร้อมที่จะสอบ ขอแนะนำให้กลับไปทบทวนเนื้อหาให้เข้าใจก่อน ห้องสอบแห่งนี้ต่างจากห้องสอบจริงตรงที่ไม่ได้กำหนดวันสอบ นักเรียนต้องการสอบวันไหนก็ได้ตามที่ตัวเองพร้อม แต่ขอให้เป็นการพร้อมจริง ๆ เพราะวัตถุประสงค์ของการเข้าห้องสอบเสมือนจริงคือหาข้อบกพร่องของตัวเองก่อนเข้าห้องสอบจริง

เมื่อพร้อมที่จะสอบแล้ว ให้คลิกคำสั่ง เริ่มจับเวลา แล้วเริ่มทำ โจทย์ข้อ 1

ส่วนหัวของข้อสอบแสดงเวลาที่เหลือ โดยนับถอยหลังจนถึง 00 ชั่วโมง 00 นาที และ 00 วินาที ซึ่งหมายถึงหมดเวลา นอกจากนี้ยังแสดงจำนวนข้อที่ยังไม่ได้ตอบ และจำนวนข้อที่ตอบแล้ว สำหรับ ...ผลสอบ ...ให้เข้าไปดูเมื่อหมดเวลา หรือทำข้อสอบครบทุกข้อแล้ว ทันทีที่เข้าไปดูผลสอบถือว่าการสอบสิ้นสุด แม้จะยังมีเวลาเหลือก็ไม่สามารถแก้ไขคำตอบ หรือทำข้อสอบต่อได้

นักเรียนควรประเมินระดับความมั่นใจในการทำโจทย์แต่ละข้อ เพื่อใช้วิเคราะห์จุดอ่อนหรือข้อบกพร่องของตัวเอง และใช้ในการบริหารเวลาในการทำข้อสอบ เมื่อเริ่มสอบ (ยังไม่ได้ตอบ) ส่วนหัวของข้อสอบแสดงจำนวนข้อที่ยังไม่ตอบ 20 ข้อ ส่วนล่างของข้อสอบ แสดงข้อที่ยังไม่ตอบแยกตามระดับความมั่นใจที่ประเมินไว้ เนื่องจากยังไม่มีการประเมิน โจทย์ทั้ง 20 ข้อจึงอยู่ในกลุ่ม "ไม่ระบุผลการประเมิน"


การเลือกคำตอบให้ทำดังนี้
1. คลิกที่ radio button หน้าตัวเลือกจะปรากฏเป็นจุดสีเขียว
2. คลิกที่คำสั่ง "ยืนยันสิ่งที่เลือก"
3. ให้สังเกต สิ่งที่เลือกจะปรากฏที่ "ตอบ"
4. ถ้าไม่ปรากฏตัวเลือกหลังคำว่า "ตอบ" แสดงว่าสิ่งที่เลือกไว้ที่ radio button ยังไม่ใช่คำตอบ (ยังไม่ได้ยืนยันสิ่งที่เลือก)
การประเมินโจทย์ ทำเช่นเดียวกับการเลือกคำตอบ
1. คลิกที่ radio button หน้าตัวเลือกจะปรากฏเป็นจุดสีเขียว
2. คลิกที่คำสั่ง "ยืนยันสิ่งที่เลือก"
3. ให้สังเกต สิ่งที่เลือกจะปรากฏที่ "ระดับความมั่นใจ"
4. ถ้าไม่ปรากฏตัวเลือกหลังคำว่า "ระดับความมั่นใจ" แสดงว่าสิ่งที่เลือกไว้ที่ radio button ยังไม่ได้รับการยืนยัน


การเลือกโจทย์ข้อสอบ ให้เลือกจากเมนูที่อยู่ด้านล่างของข้อสอบ


การเปลี่ยนคำตอบ
(ภาพตัวอย่างการเปลี่ยนคำตอบจากตัวเลือกที่ 1 เป็นตัวเลือกที่ 3)
1. คลิกที่ radio button หน้าตัวเลือกที่ต้องการเลือกใหม่ (ตามตัวอย่างคือตัวเลือกที่ 3)
2. ให้สังเกตว่าจุดสีเขียวปรากฏที่ ตัวเลือกที่ 3 แล้ว แต่คำตอบที่เคยยืนยันไว้ยังคงเป็น "1"
2. คลิกที่คำสั่ง "ยืนยันสิ่งที่เลือก"
3. คำตอบถูกเปลี่ยนเป็น "3" ตามการยืนยันสิ่งที่เลือก



การยกเลิกคำตอบที่ยืนยันไปแล้ว ทำดังนี้
1. คลิกที่คำสั่ง "ไม่เลือก" เพื่อยกเลิกจุดสีเขียวหน้าตัวเลือกที่เคยเลือกไว้
2. แม้ว่าจุดสีเขียวหน้าตัวเลือกจะหายไปแล้ว แต่คำตอบที่เคยยืนยันไว้ยังคงอยู่
3. คลิกที่คำสั่ง "ยืนยันสิ่งที่เลือก" ในที่นี้เป็นการยืนยันว่าไม่เลือก เพราะไม่มีจุดสีเขียวหน้าตัวเลือก
4. คำตอบที่เคยยืนยันไว้จะหายไป



ข้อ 2 ยังไม่ตอบและประเมินว่าเป็นข้อที่ "ไม่มั่นใจว่าทำได้ "

ข้อที่ยังไม่ตอบและมีการประเมินจะถูกจำแนกตามระดับความมั่นใจที่ประเมินไว้ ตามตัวอย่างนี้ มีข้อที่ยังไม่ตอบ 19 ข้อ แยกเป็นข้อที่ไม่ระบุผลประเมิน (ยังไม่ได้อ่านโจทย์) 18 ข้อ เป็นข้อที่ "ไม่มั่นใจว่าทำได้" 1 ข้อ
ถ้าต้องการดูว่าข้อที่ "ไม่มั่นใจว่าทำได้" 1 ข้อ คือข้อใด ให้คลิกที่คำสั่ง "ข้อที่ยังไม่ตอบ (ไม่มั่นใจ)" จะเห็นว่า คือข้อ 2
เป้าหมายของการฝึกทำข้อสอบคือ พยายามทำเวลาเฉลี่ยข้อละ 3 นาที ข้อสอบทุกข้อมีคะแนนเท่ากัน จึงควรเลือกทำข้อง่ายก่อน ถ้าต้องใช้เวลา 6 นาทีเพื่อทำข้อยาก 1 ข้อ จะได้คะแนนน้อยกว่านำ 6 นาทีนั้นไปทำข้อง่าย 2 ข้อ ดังนั้นถ้าพบข้อยาก หลังจากอ่านโจทย์แล้วยังคิดไม่ออกว่าจะทำอย่างไร ให้ประเมินเป็น "ทำไม่ได้" ไว้ก่อน เพื่อเก็บไว้ทำเป็นลำดับสุดท้าย

ข้อ 3 ไม่ตอบ และประเมินว่าเป็นข้อที่ "ทำไม่ได้"

ข้อที่ยังไม่ตอบมี 19 ข้อ แยกเป็นข้อที่ไม่ระบุผลประเมิน (ยังไม่ได้อ่านโจทย์) 17 ข้อ ข้อที่ไม่มั่นใจว่าทำได้ 1 ข้อ และข้อที่ทำไม่ได้ 1 ข้อ
ถ้าต้องการดูว่าข้อที่ "ทำไม่ได้" 1 ข้อ คือข้อใด ให้คลิกที่คำสั่ง "ข้อที่ยังไม่ตอบ (ทำไม่ได้)" จะเห็นว่า คือข้อ 3


เมื่ออ่านโจทย์ครบทุกข้อแล้ว ยังมีเวลาเหลือ ให้ใช้เวลาที่เหลือทำข้อที่ "มั่นใจว่าทำได้" แต่ยังไม่ได้ตอบ (ถ้ามี) ก่อน ถ้ายังมีเวลาเหลืออีก ให้ทำข้อที่ "ไม่มั่นใจว่าทำได้" สำหรับข้อที่ประเมินว่าทำไม่ได้ ให้เก็บไว้ทำเป็นลำดับสุดท้าย

ภาพนี้ยังมีเวลาเหลืออีก 18 นาที มีข้อที่ยังไม่ได้ตอบ 7 ข้อ แยกเป็นข้อที่ไม่มั่นใจว่าทำได้ 3 ข้อ ข้อที่ทำไม่ได้ 4 ข้อ ควรย้อนกลับไปทำข้อที่ไม่มั่นใจว่าทำได้ก่อน โดยคลิกที่คำสั่ง "ข้อที่ยังไม่ตอบ (ไม่มั่นใจว่าทำได้)" เพื่อดูว่า 3 ข้อที่ไม่มั่นใจว่าทำได้ คือข้อใด


เมื่อหมดเวลาแล้วระบบจะไม่รับคำตอบ ถ้าพยายามตอบ หรือแก้ไขคำตอบ จะมีข้อความแจ้งให้ทราบว่า "หมดเวลาแล้ว"

แต่ระบบยังอนุญาตให้แก้ไขผลการประเมินโจทย์ได้ เพราะไม่มีผลต่อคะแนนสอบ


ให้สังเกตว่าการย้อนกลับไปดูข้อที่เคยตอบไว้ จะไม่เห็นจุดเขียวที่ตัวเลือก แต่คำตอบที่เคยยืนยันไว้ยังอยู่


การดูผลสอบ ให้คลิกเข้าไปดูเมื่อหมดเวลา หรือทำข้อสอบครบทุกข้อแล้วเท่านั้น เพราะทันทีที่คลิก ...ผลสอบ ... ระบบจะถือว่าการสอบสิ้นสุด แม้จะยังมีเวลาเหลือก็ไม่สามารถแก้คำตอบหรือทำข้อสอบที่เหลือได้


ผลสอบแสดงข้อที่ตอบถูก ไม่ตอบ และตอบผิด แยกตามระดับความมั่นใจในการทำข้อสอบ การสอบครั้งนี้ได้คะแนน 60% จากการตอบถูก 12 ข้อ ประกอบด้วยข้อที่มั่นใจว่าทำได้ 8 ข้อ ข้อที่ไม่มั่นใจว่าทำได้ 3 ข้อ และข้อที่ทำไม่ได้ 1 ข้อ

ให้สังเกตว่าข้อ 11 ถูกประเมินว่าเป็นข้อที่ทำไม่ได้ แต่คำตอบถูก แสดงว่าคำตอบข้อนี้เกิดจากการเดา และโชคดีที่เดาถูก ทำให้คะแนน 60% สูงเกินจริง ถ้าหักคะแนนข้อ 11 ออก จะได้คะแนนจากฝีมือในการทำข้อสอบเพียง 60 - 5 = 55% ควรประเมินผลตามความสามารถที่แท้จริง อย่างหวังเพิ่งโชคในการสอบเพราะไม่ได้โชคดีทุกครั้งที่เดา การรู้ขีดความสามารถที่แท้จริงของตนเอง ทำให้รู้ว่าต้องปรับปรุงตัวเองอีกมากน้อยเพียงใด สำหรับข้อ 6, 8 และ 12 แม้จะตอบถูกแต่ก็ไม่มั่นใจว่าทำได้ แสดงว่าคำตอบอาจมีการเดาปนอยู่บ้าง ให้เปิดเฉลยดูวิธีทำว่าทำถูกวิธีหรือไม่ วิธีทำในเฉลยเป็นเพียงการชี้แนวทางให้เห็นว่าควรคิดอย่างไร วิธีทำของนักเรียนอาจต่างจากเฉลย ถ้านักเรียนใช้หลักการถูกต้องจะได้คำตอบเหมือนเฉลย และถือว่าเป็นวิธีทำที่ถูกเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ควรทบทวนเนื้อหาที่อยู่ในคำถามข้อ 6, 8 และ 12 อีกครั้ง เพราะการที่ไม่มั่นใจว่าทำได้ แสดงว่านักเรียนยังไม่เข้าใจเนื้อหาเหล่านั้นดีพอ

สำหรับข้อที่ไม่ตอบคือข้อ 3, 16 และ 20 ให้เปิดโจทย์ดูว่าเป็นเรื่องอะไร เปิดหนังสือทบทวนเรื่องนั้นใหม่ แล้วพยายามกลับมาทำโจทย์ 3 ข้อนี้อีกครั้ง

ข้อที่ตอบผิด 5 ข้อ ให้ดูว่าเป็นเรื่องอะไร ผลสอบแสดงให้เห็นว่านักเรียนมีจุดอ่อนในเรื่องเหล่านั้น ข้อ 14 ถูกประเมินว่าทำไม่ได้ แต่มีคำตอบ ถ้าทำไม่ได้ ไม่ควรมีคำตอบ แม้จะมีคำตอบแต่คำตอบผิด แสดงว่านักเรียนพยายามเดาคำตอบและเดาผิด สิ่งที่น่าเสียดายคือข้อ 2 ถูกประเมินว่า "มั่นใจว่าทำได้" แต่คำตอบผิด ถ้ามั่นใจว่าทำได้ข้อนี้ไม่ควรตอบผิด ให้ดูเฉลยว่าทำไมตอบผิด


เฉลยคำตอบที่ถูกคือตัวเลือกที่ 2 แต่นักเรียนตอบผิด โดยตอบตัวเลือกที่ 3

การเฉลยแบ่งเป็น 2 ระดับคือ ระดับแรกเป็นการ "เฉลยคำตอบ" ระดับที่สองเป็นการ "เฉลยวิธีทำ" ขอให้ดูระดับแรกก่อน เมื่อเห็นคำตอบแล้วอย่าเพิ่งดูวิธีทำ ให้พยายามทำข้อสอบนั้นอีกครั้ง โดยเฉพาะข้อที่มั่นใจว่าทำได้ แต่คำตอบผิด ให้ทำใหม่อีกครั้งเพื่อหาสาเหตุว่าทำไมตอบผิด เกิดจากความไม่รอบคอบ เช่นคำนวณเลขผิด หรืออ่านโจทย์ผิด หรือไม่เข้าใจเนื้อหาดีพอ อนุญาตให้เปิดหนังสือ หรือสมุดโน้ต และใช้เวลานานเท่าใดก็ได้ ถ้าพยายามจนถึงที่สุดแล้วยังทำไม่ได้ จึงเปิด "เฉลยวิธีทำ"


วิธีทำที่เฉลยเป็นเพียงการแสดงให้เห็นแนวทางหนึ่งในการทำโจทย์ข้อนั้น นักเรียนอาจใช้วิธีที่แตกต่างจากเฉลย ถ้าวิธีของนักเรียนอยู่บนหลักการและเหตุผลที่ถูกต้องจะได้คำตอบตรงกับเฉลย และถือเป็นวิธีทำที่ใช้ได้เช่นกัน เช่น โจทย์ข้อ 2 นักเรียนอาจใช้วิธีตรวจความถูกต้องของตัวเลือกแต่ละตัว โดยนำตัวเลือกแต่ละตัวไปแทนค่า a เพื่อดูว่าตัวเลือกใดที่ทำให้ 60 + 2a + a มีค่าเท่ากับ 180 องศา (มุมตรง)
ตัวเลือกที่ 1 ==> 60 + 2(30) + 30 = 150 ==>ตัวเลือกที่ 1 ผิด
ตัวเลือกที่ 2 ==> 60 + 2(40) + 40 = 180 ==>ตัวเลือกที่ 2 ถูก


ข้อที่มีการคำนวณซับซ้อนจะมีวิดีโอคลิปอธิบายวิธีคำนวณทีละขั้น โดยละเอียด มีภาพประกอบคำอธิบายอย่างชัดเจน ช่วยให้นักเรียนเข้าใจง่ายเหมือนนั่งเรียนในห้องเรียน


คลิกเมาส์ที่รูปสามเหลี่ยมกลางจอของวิดีโอคลิป หรือ คลิกเมาส์ที่รูปสามเหลี่ยมที่อยู่ในแถบด้านล่างเพื่อเล่นวิดีโอคลิป

จำนวนผู้ชม 36,149 จำนวนผู้ลงคะแนน 38 คะแนนเฉลี่ย 4


ฝึกสมอง

ร่างกายของเด็กมีการเจริญเติบโตตามวัย เด็กที่มีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะเติบโตเร็วและแข็งแรงกว่าเด็กที่ไม่ได้ออกกำลังกาย กีฬาหรือการเล่นเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมการออกกำลังกาย สมอง ก็เช่นเดียวกับอวัยวะอื่นที่มีการเจริญเติบโตตามวัย สามารถจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้สมองเจริญเติบโตและทรงพลังมากกว่าปกติ สมองทำหน้าที่หลายอย่าง เช่น การจำ, การคำนวณ, การคิดวิเคราะห์ ฯลฯ สมองมีการทำงานที่ซับซ้อนกว่าอวัยวะอื่น การฝึกสมองหรือการออกกำลังกายสมองเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งให้สมองในแต่ละหน้าที่จึงต้องการกิจกรรมและเครื่องมือต่างกัน

... รายละเอียดเพิ่มเติม ...
๏ปฟ

เธชเธ‡เธงเธ™เธฅเธดเธ‚เธชเธดเธ—เธ˜เธดเนŒเธ•เธฒเธกเธเธเธซเธกเธฒเธข Copyright (C) 2018-2024 All rights reserved.