ห้องสอบเสมือนจริง
หน้าแรก ห้องสอบเข้าม.1 ห้องสอบเข้าม.4 ห้องสอบเข้ามหาวิทยาลัย ห้องติวคณิตศาสตร์ ผู้ทำเว็บ
เกมส์ท่องศัทพ์ สมุดจดศัพท์ออนไลน์ ฝึกสมอง English Voive ข้อสอบ O-NET ข้อสอบออนไลน์

ข้อสอบออกเกินเนื้อหาที่สอนในโรงเรียน ?
ข้อสอบคณิตศาสตร์ที่ใช้คัดเลือกนักเรียนเข้าเรียนต่อ ไม่ได้ออกเกินเนื้อหาที่เรียนในโรงเรียน แต่เป็นความจริงที่ว่าข้อสอบคณิตศาสตร์สำหรับสอบคัดเลือกยากกว่าข้อสอบคณิตศาสตร์ที่โรงเรียน เนื่องจากวัตถุประสงค์ของการสอบต่างกัน ข้อสอบคณิตศาสตร์ที่โรงเรียนเป็นการทดสอบความเข้าใจในบทเรียนที่ครูสอน ข้อสอบออกโดยครูผู้สอนซึ่งรู้ระดับความสามารถของนักเรียนที่ตัวเองสอน จึงออกข้อสอบคณิตศาสตร์ให้สอดคล้องกับความสามารถของนักเรียนในชั้น ครูผู้สอนไม่ออกข้อสอบยากจนนักเรียนสอบตกทั้งชั้น เพราะนั่นไม่เป็นผลดีต่อทั้งนักเรียน ครูผู้สอนและโรงเรียน

ข้อสอบคณิตศาสตร์สำหรับสอบคัดเลือกมีวัตถุประสงค์ต่างจากข้อสอบคณิตศาสตร์ที่โรงเรียน ข้อสอบต้องการคัดเฉพาะเด็กเก่ง ดังนั้นข้อสอบจึงยากขึ้นอีกระดับหนึ่งเพื่อวัดความแตกต่างระหว่างเด็กเก่งและไม่เก่ง ข้อสอบถูกเขียนขึ้นใหม่เพื่อทดสอบทักษะทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน ไม่ได้เขียนเลียบแบบตัวอย่างในห้องเรียนเพื่อให้นักเรียนสอบได้ ผู้เขียนโจทย์ข้อสอบคณิตศาสตร์สามารถกำหนดระดับความยากง่ายของโจทย์ได้ โดยที่ยังอยู่ในเนื้อหาเดิม เช่น โรงเรียนสอนคณิตศาสตร์ 3 เรื่อง

1) ร้อยละ หรือ เปอร์เซ็นต์(%)
2) อัตราส่วน
3) สมการ

การวัดผลของโรงเรียนทำโดยออกข้อสอบคณิตศาสตร์ 3 ข้อสำหรับทดสอบความเข้าใจ 3 เรื่อง ถ้านักเรียนเข้าใจเพียง 2 เรื่อง จะทำข้อสอบคณิตศาสตร์ที่โรงเรียนได้ 2 ข้อ ข้อที่ 3 ทำไม่ได้ เพราะไม่เข้าใจเรื่องที่ 3

แต่ข้อสอบคณิตศาสตร์สำหรับสอบคัดเลือก นำเรื่องทั้ง 3 เรื่องนี้มาไว้ในข้อสอบข้อเดียวกัน นักเรียนจะทำโจทย์ข้อสอบคณิตศาสตร์ข้อนั้นได้ต้องเข้าใจทั้ง 3 เรื่อง ถ้าเข้าใจเพียง 2 เรื่อง จะทำโจทย์ข้อนั้นไม่ได้ นักเรียนที่ไม่เข้าใจเนื้อหาคณิตศาสตร์ 3 เรื่องนี้ดีพอ แม้จะทำข้อสอบคณิตศาสตร์ของโรงเรียนได้ทั้ง 3 ข้อ แต่ไม่เคยเห็นโจทย์ข้อสอบคณิตศาสตร์ที่นำ 3 เรื่องมาไว้ในข้อเดียวกัน เมื่อเจอข้อสอบคณิตศาสตร์แบบนั้นครั้งแรกในห้องสอบก็ทำไม่ได้ เพราะไม่เข้าใจว่า 3 เรื่องนี้สัมพันธ์กันอย่างไร

ถามว่าข้อสอบคณิตศาสตร์ข้อนั้นออกเกินเนื้อหาที่สอนในโรงเรียนหรือไม่ ?

...ไม่เกิน... เพราะทั้ง 3 เรื่องสอนในโรงเรียนแล้ว

แม้โรงเรียนจะสอนเรื่องสมการแล้ว แต่โจทย์สมการในข้อสอบคณิตศาสตร์สำหรับสอบคัดเลือกฯยากและซับซ้อนกว่าข้อสอบของโรงเรียน อย่างนี้ถือว่าข้อสอบออกเกินเนื้อหาหรือไม่ ?

...ไม่เกิน...เพราะเนื้อหาเท่าเดิม การทำข้อสอบที่ยากและซับซ้อน ไม่ได้ใช้เนื้อหามากขึ้น สิ่งที่ต้องใช้มากขึ้นคือทักษะและความเข้าใจเนื้อหาอย่างถ่องแท้

นักเรียนจำนวนมากเข้าใจคณิตศาสตร์เพียงผิวเผิน หรือไม่เข้าใจเนื้อหา แต่จำวิธีทำจากโจทย์ตัวอย่างในหนังสือ ไม่เข้าใจเหตุผลว่าทำไมต้องทำอย่างนั้้น นักเรียนกลุ่มนี้จะทำโจทย์คณิตศาสตร์ได้ ถ้าโจทย์ข้อนั้น คล้ายกับตัวอย่างในหนังสือ แต่ถ้าโจทย์แตกต่างจากตัวอย่างในหนังสือไปมากเขาจะทำไม่ได้ เพราะพวกเขาไม่เข้าใจเนื้อหาดีพอ จึงไม่สามารถคิดพลิกแพลงเพื่อนำเนื้อหาที่เรียนไปแก้ปัญหาโจทย์คณิตศาสตร์ที่มีความซับซ้อนมากขึ้น

โจทย์ปัญหาที่ซับซ้อน จำเป็นต้องใช้วิธีคิดลัดหรือสูตรลัดซึ่งไม่ได้สอนในโรงเรียน
ข้อสอบแบบนี้ถือว่าออกเกินเนื้อหาใช่หรือไม่ ?


สูตรลัด หรือ วิธีลัด เป็นเพียงเครื่องทุ่นแรงที่ช่วยให้ทำงานเสร็จเร็วขึ้น ถ้ามีได้ก็ดี แต่ไม่ได้หมายความว่าถ้าไม่มีแล้วจะหาคำตอบไม่ได้

ขอยกตัวอย่างเปรียบเทียบเพื่อให้เห็นภาพชัดเจน

"เลื่อยไฟฟ้า" เป็นเครื่องทุ่นแรง ช่วยให้ช่างไม้ทำงานได้เร็วขึ้น แต่ไม่ได้หมายความว่าถ้าไม่มีเลื่อยไฟฟ้าแล้วช่างไม้จะสร้างบ้านไม่ได้ เพราะช่างไม้สามารถใช้เลื่อยมือตัดไม้ได้ ถ้าช่างไม้ไม่มีความเข้าใจเรื่องโครงสร้างบ้าน ต่อให้มีเลื่อยไฟฟ้าก็สร้างบ้านไม่ได้ เพราะเขาไม่เข้าใจว่าจะต้องตัดไม้กี่ชิ้น แต่ละชิ้นยาวเท่าใด ตัดแล้วนำไปต่อไว้ที่ไหน ต่ออย่างไร ฯลฯ

ในทางกลับกันถ้าช่างไม้มีความรู้เรื่องโครงสร้างบ้าน แม้ไม่มีเลื่อยไฟฟ้า เขายังสามารถสร้างบ้านได้โดยตัดไม้ด้วยเลื่อยมือ ถ้ามีเลื่อยไฟฟ้าเขาจะสร้างบ้านเสร็จเร็วขึ้น สิ่งที่เป็นปัจจัยนำไปสู่ความสำเร็จในการสร้างบ้านคือความรู้เรื่องโครงสร้างบ้าน ไม่ใช่เลื่อยไฟฟ้า

จำนวนผู้ชม 4,181 จำนวนผู้ลงคะแนน 8 คะแนนเฉลี่ย 3
๏ปฟ

เธชเธ‡เธงเธ™เธฅเธดเธ‚เธชเธดเธ—เธ˜เธดเนŒเธ•เธฒเธกเธเธเธซเธกเธฒเธข Copyright (C) 2018-2024 All rights reserved.